วิทยาลัยสารพัดช่างนราธิวาส เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีประวัติโดยสังเขป ดังนี้
ประวัติการจัดตั้ง ที่ตั้ง เนื้อที่  
     วิทยาลัยสารพัดช่างนราธิวาส จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2524 โดยใช้สถานที่ตั้งวิทยาลัยเทคนิคเก่า ตั้งอยู่เลขที่ 55 หมู่ที่ 13 ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส บนพื้นที่ 7 ไร่ 2 ตารางวา ในนามของโรงเรียนสารพัดช่างนราธิวาส ได้รับการพัฒนาปรับปรุงและยกฐานะเป็นวิทยาลัยฯ 

     เมื่อปี พ.ศ. 2534 ปีการศึกษา 2535 วิทยาลัยฯ ได้ขยายสาขาเปิดสอนที่อำเภอสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส (ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของวก.สุไหงโก-ลก) พื้นที่วิทยาลัยสารพัดช่างนราธิวาส มีทั้งหมด 3 แปลง
     1. พื้นที่บริเวณวิทยาลัยสารพัดช่างนราธิวาส อ.เมือง จ.นราธิวาส มีพื้นที่ 7 ไร่ 2 ตารางวา
     2. พื้นที่บ้านพักครู – คนงานภารโรง พื้นที่ 4 ไร่ 80 ตารางวา
     3. พื้นที่ดินแปลงใหม่จากจังหวัดนราธิวาสเพื่อทดแทนที่ดินแปลงที่จังหวัดนราธิวาสมอบให้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พื้นที่แปลงที่ 31.1 จำนวนพื้นที่ 112.50 ไร่ โดยวิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตจากจังหวัดนราธิวาสให้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแล้ว

ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
     1 มกราคม พ.ศ. 2524 จัดตั้งครั้งแรกเป็นโรงเรียนสารพัดช่างนราธิวาส สังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
     25 ตุลาคม พ.ศ. 2525 เป็นวันแรกที่คณะบุคลากรชุดแรกเริ่มดำเนินการ โดยใช้สถานที่วิทยาลัยเทคนิคเดิม ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 55 หมู่ที่ 13 ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส
     7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 เปิดสอนรุ่นแรก
     7 มิถุนายน พ.ศ. 2534ได้รับยกฐานะเป็นวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2538 ได้ทำการเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ และเปลี่ยนชื่อจากวิทยาลัยสารพัดช่างนราธิวาสเป็นวิทยาลัยเทคนิคบางนรา ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เป็นต้น

ปรัชญา อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ของสถานศึกษา
“ปรัชญา”
“ศึกษาดี มีคุณธรรม ขยันทำงาน”
“อัตลักษณ์”
จิตอาสา พัฒนาสังคม
“เอกลักษณ์”
บริการดี มีคุณธรรม

วิสัยทัศน์

เป็นสถานศึกษาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางด้านวิชาชีพ โดยใช้ทรัพยากรท้องถิ่นในเชิงบูรณาการอย่างสอดคล้องกับวัฒนธรรม

พันธกิจ

  1. ผลิตนักเรียนนักศึกษาด้านช่างอุตสาหกรรม คหกรรม พาณิชยกรรม ศิลปกรรม ในหลักสูตร ปวช. ปวส. หลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรพิเศษ
  2. ให้บริการในด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
  3. สนับสนุนการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถานประกอบการหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมวิชาชีพและการประกอบอาชีพ
  4. ส่งเสริมวัฒนธรรมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป้าประสงค์

  1. ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณภาพได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
  2. จัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรฐานสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
  3. สถานศึกษามีครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาและมีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง
  4. สถานศึกษาบริหารจัดการบุคลากร สภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ห้องเรียนห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงานให้มีคุณภาพ
  5. สถานศึกษามีความสำเร็จในการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามนโยบายสำคัญที่หน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษามอบหมาย
  6. สถานศึกษามีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมการศึกษา ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษา สามารถนำความรู้ไปบริการสู่ชุมชนท้องถิ่นได้
  7. ผู้เรียนและครู มีการจัดทำนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์